วันอาทิตย์ที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2555

เกี่ยวรวม กลอนวันพ่อ วันพ่อ วันพ่อแห่งชาติ




รวบรวม กลอนวันพ่อ วันพ่อ วันพ่อแห่งชาติ



วันพ่อแห่งชาติ ประวัติวันพ่อแห่งชาติ จัดให้มีขึ้นเป็นครั้งแรก เมื่อวันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ.2523 โดย คุณหญิงเนื้อทิพย์ เสมรสุต นายกสมาคมผู้อาสาสมัครและช่วยการศึกษา เป็นผู้ริเริ่มจัดงานวันพ่อแห่งชาติขึ้น ด้วยความจงรักภักดี และมีวัตถุประสงค์ เพื่อเทิดพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว หรือในหลวงของประชาชนชาวไทย ในฐานะ "พ่อแห่งชาติ" และ "พ่อของแผ่นดิน" ในประเทศไทย ได้กำหนดให้ วันที่ 5 ธันวาคม ของทุกปี เป็นวันพ่อแห่งชาติ 


        ซึ่งนอกจากพระองค์จะเป็นพระราชบิดาของพระราชโอรสและพระราชธิดา ทรงทะนุบำรุงพระราชโอรสธิดาด้วยความรัก และทรงอบรมอนุศาสน์ให้ทรงเจริญวัยสมบูรณ์ และทรงบำเพ็ญคุณานุประโยชน์แก่ประเทศชาติและประชาชน เจริญรอยตามเบื้องพระยุคลบาทแล้ว พระองค์ยังทรงพระมหากรุณาทะนุบำรุงจัดทุกข์ผดุงสุขพสกนิกรถ้วนหน้า พระองค์ทรงเป็น “พ่อแห่งชาติ” ที่อาณาประชาราษฎร์เทิดทูนด้วยความจงรักภักดี สำนักในพระมหากรุณาธิคุณ และยึดมั่นในการเจริญรอยตามเบื้องพระยุคลบาทในการทะนุบำรุงชาติบ้านเมืองให้ วัฒนาถาวรสืบไป





วันพ่อแห่งชาติ (5 ธันวาคม)




วัตถุประสงค์ของการจัดงานวันพ่อแห่งชาติ ที่คณะผู้ริเริ่มกำหนดคือ วันพ่อแห่งชาติ



  • เพื่อเทิดทูนพระเกียรติคุณของ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

  • เพื่อเทิดทูนพระคุณของพ่อ และยกย่องบทบาทของพ่อที่มีต่อครอบครัวและสังคม

  • เพื่อให้ลูกได้แสดงความกตัญญูกตเวทีต่อพ่อ

  • เพื่อให้ผู้เป็นพ่อ สำนึกในหน้าที่และความรับผิดชอบของตน






    ในการนี้คณะกรรมการได้จัดกิจกรรมประกาศเกียรติคุณ พ่อตัวอย่าง หรือพ่อดีเด่น ในทุกๆปี โดยมีการกำหนดคุณสมบัติของพ่อดีเด่นดังนี้


    คุณสมบัติของพ่อตัวอย่าง หรือพ่อดีเด่น วันพ่อแห่งชาติ




    นอกจากนั้นทางคณะกรรมการ ยังได้แนะนำ กิจกรรมสำหรับลูกในวันพ่อ คือ


    • ประดับธงชาติตามอาคารบ้านเรือน

    • จัดกิจกรรมบำเพ็ญประโยชน์ต่อสาธารณะ หรือบำเพ็ญกุศลเพื่อส่วนรวม

    • ทำบุญใส่บาตร เพื่ออุทิศส่วนกุศล และระลึกถึงพระคุณของพ่อ ซึ่งยังดำเนินการสืบเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน





    ในวัน ที่ 5 ธันวาคมมหาราช นอกจากจะเป็นวันเฉลิมพระชนมพรรษาของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลย เดช และเป็นวันพ่อแห่งชาติแล้ว ยังถือว่าว่าวันนี้ เป็น “วันชาติของไทย” อีกด้วย



            โดยทั่วไป “วันชาติ” มักจะหมายถึง วันเฉลิมฉลองที่ประเทศนั้นๆได้รับอิสรภาพ เป็นเอกราช หรือเป็นวันสถาปนาประเทศ รัฐ ราชวงศ์ วันพระราชสมภพของพระมหากษัตริย์ วันเกิดประมุขของรัฐ หรืออาจจะเป็นวันที่มีความสำคัญทางประวัติศาสตร์อื่นๆ แต่มักจะถือเป็นวันหยุดประจำของชาติ ซึ่ง “วันชาติ” ของแต่ละประเทศจะเป็นวันใด ก็ขึ้นอยู่กับการกำหนดของประเทศนั้นๆ เช่น ประเทศโมร็อกโก ตรงกับวันที่ ๒ มีนาคม สหรัฐอเมริกา ตรงกับวันที่ 4 กรกฎาคม ฝรั่งเศสตรงกับวันที่ 14 กรกฎาคม อินโดนีเซียตรงกับวันที่ 17 สิงหาคม บราซิลตรงกับวันที่ 7 กันยายน และเคนย่าตรงกับวันที่ 12 ธันวาคม เป็นต้น



            “วันชาติ” ของประเทศต่างๆ ส่วนใหญ่จะมีเพียงวันเดียว แต่ก็มีบางประเทศเช่นกันที่มี “วันชาติ” มากกว่าหนึ่งวัน ทั้งนี้เพราะประเทศนั้นๆ อาจจะนับวันที่ได้รับเอกราชหรือวันที่ปลดแอกจากการเป็นอาณานิคม และวันที่มีการสถาปนาการปกครองขึ้นใหม่ ซึ่งอาจจะมิใช่วันเดียวกัน แต่เป็นวันสำคัญเสมือนวันชาติเท่าๆกัน เช่น ประเทศปากีสถาน จะมีวันชาติตรงกับวันที่ 23 มีนาคม ที่เขาเรียกว่า “Republic Day” และวันที่ 14 สิงหาคม เป็น “Independence Day” ส่วนฮังการี ก็มีถึง 3 วันคือ วันที่ 15 มีนาคม 20 สิงหาคม และ 23 ตุลาคม สำหรับจีน นอกจากจะมีวันชาติตรงกับวันที่ 1 ตุลาคม แล้ว ที่ฮ่องกง อันเป็นเขตปกครองพิเศษของจีน ที่มีขึ้นหลังจากอังกฤษคืนเกาะฮ่องกงให้จีนก็มีการเฉลิมฉลองวันที่ตรงกับวัน สถาปนาการปกครองพิเศษนี้ขึ้น ในวันที่ 1 กรกฎาคม อีกด้วย



            สำหรับ ประเทศไทย เราเคยได้มีการกำหนดให้วันที่ 24 มิถุนายน เป็น “วันชาติ”ของไทย ด้วยถือว่าวันที่ 24 มิถุนายน 2475 เป็นวันเปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ มาเป็นการปกครองในระบอบรัฐธรรมนูญที่เป็นประชาธิปไตย โดยได้มี ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง “วันชาติ” ลงวันที่ 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2481 โดย พ.อ.พหลพลพยุหเสนา เป็นนายกรัฐมนตรีสมัยนั้น และได้มีการเฉลิมฉลองวันชาติ 24 มิถุนายน ครั้งแรกในปีพ.ศ. 2482 ในสมัยจอมพลป. พิบูลสงครามเป็นนายกรัฐมนตรี




            วันที่ 24 มิถุนายน เป็น “วันชาติ” ของไทยอยู่นานถึง 21 ปี ครั้น วันที่ 21 พฤษภาคม 2503 สมัยจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ เป็นนายกรัฐมนตรี ก็ได้มี ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี ขึ้นใหม่อีกฉบับหนึ่ง เรื่อง ให้ถือวันพระราชสมภพเป็นวันเฉลิมฉลองของชาติไทย โดยให้เหตุผลว่า กลอนวันพ่อ



            ด้วยคณะรัฐมนตรีได้พิจารณาเห็นว่า ตามที่ได้กำหนดให้มีการเฉลิมฉลองวันชาติไทยในวันที่ 24 มิถุนายน นั้น ได้ปรากฏในภายหลังว่า มีข้อที่ไม่เหมาะสมหลายประการ ในด้านประชาชนและหนังสือพิมพ์ก็ได้เสนอแนะให้พิจารณาในเรื่องนี้หลายครั้ง หลายคราว คณะรัฐมนตรีจึงได้แต่งตั้งคณะกรรมการขึ้นพิจารณา โดยมีพลตรีพระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหมื่นนราธิปพงศ์ประพันธ์ รองนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน



            คณะกรรมการนี้ได้พิจารณาแล้ว เสนอความเห็นว่า ประเทศต่างๆได้เลือกถือวันใดวันหนึ่งที่มีความสำคัญเกี่ยวเนื่องกับชนในชาติ ต่างๆกัน โดยถือเอาวันประกาศเอกราช วันอิสรภาพ วันตั้งถิ่นฐาน วันสาธารณรัฐ วันสถาปนาพระราชวงศ์บ้าง ซึ่งไม่เหมือนกัน แต่ประเทศที่มีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขของชาติ โดยทั่วไปนั้น ได้ถือเอาวันพระราชสมภพของพระมหากษัตริย์เป็นวันเฉลิมฉลองของชาติ เช่น ประเทศอังกฤษ เนเธอร์แลนด์ เดนมาร์ก สวีเดน ญี่ปุ่น ฯลฯ เป็นต้น แม้ประเทศไทยเราเองก็ได้ถือเอาวันพระราชสมภพเป็นวันเฉลิมฉลองของชาติไทยมา แล้ว เพิ่งจะมากำหนดเอาวันที่ 24 มิถุนายน เป็นวันชาติ เพิ่มขึ้นอีกวันหนึ่งในระยะหลังนี้เอง



            คณะกรรมการจึงมีความเห็นว่า เพื่อให้เป็นไปตามขนบประเพณีของประเทศที่มีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข และเป็นหลักการสมัครสมานสามัคคีรวมจิตใจของบุคคลในชาติโดยทั่วกัน จึงสมควรจะถือเอาวันพระราชสมภพของพระมหากษัตริย์เป็นวันเฉลิมฉลองของชาติไทย ต่อไป โดยยกเลิกวันชาติ ในวันที่ 24 มิถุนายนเสีย




            ดังนั้น นับแต่ปี พ.ศ. 2503 ประเทศไทยจึงได้ถือเอาวันพระราชสมภพของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ซึ่งตรงกับวันที่ 5 ธันวาคม ของทุกปี เป็น “วันชาติ” ของไทย ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา




            ตามปกติ การจัดงาน “วันชาติ” ของประเทศต่างๆก็จะมีกิจกรรมและรูปแบบแตกต่างกันออกไป ส่วนใหญ่ก็มักจะมีการกล่าวสุนทรพจน์ การจัดขบวนพาเหรดเฉลิมฉลอง การจุดพลุดอกไม้ไฟอย่างเอิกเกริก รวมไปถึงการแสดงมหรสพต่างๆ เป็นต้น แต่ในประเทศไทย เนื่องจากวันชาติ เป็นวันเฉลิมพระชนมพรรษา และวันพ่อแห่งชาติ ซึ่งมีกิจกรรมเฉลิมฉลองอยู่แล้ว กอปรกับประเทศไทยยังไม่เคยเป็นเมืองขึ้นของใครมาก่อน และคนรุ่นใหม่ส่วนใหญ่ก็คุ้นชินกับการปกครองระบอบประชาธิปไตยอย่างที่เห็น กันอยู่ปัจจุบัน



            ดังนั้น “วันชาติ” ของเราจึงดูเหมือนไม่ค่อยมีความสำคัญเท่าใดนัก เพราะชาวไทยทุกหมู่เหล่าล้วนตัองการจัดกิจกรรมเพื่อถวายความจงรักภักดีต่อ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว “พ่อหลวงของแผ่นดิน” มากกว่าประเด็นอื่น อย่างไรก็ดี หากเราจะระลึกว่าวันนี้ ก็เป็น “วันชาติ”ของไทยด้วย แล้วจัดกิจกรรมต่างๆที่จะแสดงให้เห็นว่า พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้ทรงบำเพ็ญพระราชกรณียกิจเพื่อ “ประเทศชาติ” ด้วยพระวิริยะอุตสาหะ และความเสียสละมาอย่างยาวนานเช่นไร ก็อาจจะทำให้ วันนี้ มีความหมายครบถ้วนสมบูรณ์ยิ่งขึ้น



    ดอกพุทธรักษา

    ดอกพุทธรักษา สัญลักษณ์วันพ่อแห่งชาติ


            ดอกไม้สัญลักษณ์ประจำวันพ่อแห่งชาติ คือ ดอกพุทธรักษา มีสีเหลืองเด่น เป็นสีของวันพระราชสมภพของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ มีความหมายคือ ความสงบสุขร่วมเย็น การปกป้องคุ้มครอง แสดงถึงความรักและเคารพบูชาพ่อ ที่คอยปกป้องครอบครัว โดยมีความเชื่อว่า หากบ้านใดปลูกต้นนนพุทธรักษาไว้ จะช่วยปกป้องคุ้มครองอันตรายแก่บ้าน และที่อยู่อาศัยได้




    กลอนวันพ่อ



    บทอาศิรวาท เฉลิมพระชนมพรรษา มหาราชา "ภูมิพล ฯ"


    "เฉลิมพระชนม์ เฉลิมชัย ชโยฤกษ์

    บายศรีเบิก ฟ้าสีทอง ผ่องเวหน

    พระบุญญา พระบารมี พระฯภูมิพล

    เกริกสกล ภูมิแผ่นดิน ภิญโญไทย



    ธ ทรงมี ทศพิธ ราชธรรม

    โครงการล้ำ เชิดชูชาติ ศาสน์ไสว

    อิสริยยศ คิงออฟคิง เพริศพริ้งไกล

    งามวิไล ราชกิจ พิศอัศจรรย์



    อัญเชิญชัย พระไตรรัตน์ สิ่งศักดิ์สิทธิ์

    เทพนิมิต ราชประสงค์ ทรงเสกสรรค์

    จตุรพิธ พรประเสริฐ เลิศอนันต์

    นิจนิรันดร์ ขอพระองค์ ทรงพระเจริญ"




    กลอนวันพ่อ






    กลอนวันพ่อ





    บทอาศิรวาท เฉลิมพระชนมพรรษา มหาราชา "ภูมิพล ฯ"


    "เฉลิมพระชนม์ เฉลิมชัย ชโยฤกษ์

    บายศรีเบิก ฟ้าสีทอง ผ่องเวหน

    พระบุญญา พระบารมี พระฯภูมิพล

    เกริกสกล ภูมิแผ่นดิน ภิญโญไทย

    ธ ทรงมี ทศพิธ ราชธรรม

    โครงการล้ำ เชิดชูชาติ ศาสน์ไสว

    อิสริยยศ คิงออฟคิง เพริศพริ้งไกล

    งามวิไล ราชกิจ พิศอัศจรรย์

    อัญเชิญชัย พระไตรรัตน์ สิ่งศักดิ์สิทธิ์

    เทพนิมิต ราชประสงค์ ทรงเสกสรรค์

    จตุรพิธ พรประเสริฐ เลิศอนันต์

    นิจนิรันดร์ ขอพระองค์ ทรงพระเจริญ"


    วารี ไตรเพิ่ม ผู้ประพันธ์กลอนวันพ่อ

    1ธ.ค.53


    ----------------------------------------------------------------------------------------




    กลอนวันพ่อ


    "สรวมชีพ น้อมเกศา ข้าพระบาท

    อาศิรวาท จอมบดินทร์ ปิ่นเกศี

    เฉลิมพระชนม์ พระฯภูมิพล นฤบดี

    พระบารมี ยิ่งบุญญา เฟื่องฟ้าไกล

    กอปรอาเกียรณ์ ราชกิจ ผลิตโครงการ

    พรหมสร้างสาน ปราชญ์คู่หล้า ฟ้าสดใส

    ทศพิธ ราชธรรม ธำรงไทย

    เลื่องลือไป ทั่วหล้า น่าอัศจรรย์

    ขอเทพไท ไตรรัตน์ สิ่งศักดิ์สิทธิ์

    นฤมิต พรพราวพร่าง สร้างสุขสันต์

    ธ ประสงค์ ลุประสงค์ มงคลพลัน

    ภักดีมั่น ขอพระองค์ ทรงพระเจริญ"



    วารี ไตรเพิ่ม (ประพันธ์กลอนวันพ่อ)

    1 ธ.ค. 53


    ----------------------------------------------------------------------------------------




    กลอนวันพ่อ





    "ลุที่ห้า ธันวา มหาฤกษ์

    บายศรีเบิก แผ่นฟ้า เวหาหน

    เฉลิมพระชนม์ พรรษา มหามงคล

    ร่วมกมล ถวายพระพร บวรชัย

    ธ ทรงเป็น ยิ่งกว่า ราชาบดี

    ทรงเป็นศรี แห่งแผ่นดิน ภิญโญสมัย

    ธ ทรงงาน โครงการ สร้างสานไทย

    น้ำพระทัย พระเมตตา ล้ำบารมี

    ธ ทรงเป็น พลัง แห่งแผ่นดิน

    เลิศศาสตร์ศิลป์ พัฒนาไทย ไพศาลศรี

    ดังตะวัน จันทรา หล้าปฐพี

    เพชรมณี เฟื่องสยาม คามตำนาน

    อัญเชิญชัย ศรีไตรรัตน์ ประภัสสร์ผล

    ทวยเทพดล ราชวงศ์ เกษมศานต์

    จตุรพิธ พรพร่าง นานัปการ

    โลกขับขาน ขอพระองค์ ทรงพระเจริญ"


    วารี ไตรเพิ่ม (ประพันธ์กลอนวันพ่อ)

    1 ธ.ค. 53





     *** ขอขอบคุณบทกลอนวันพ่อจาก คุณวารี ไตรเพิ่ม (บทกลอนที่นำมาเสนอได้รับอนุญาตจากผู้แต่งแล้ว) หากผู้ใดต้องการนำกลอนวันพ่อเหล่านี้ไปเผยแพร่ไม่ว่ากรณีใดๆ กรุณาติดต่อที่ feedback@sanook.com





    ----------------------------------------------------------------------------------------



    5 ธันวา ศุภฤกษ์เบิกฟ้างาม



    สัจจาภรณ์ ไวจรรยา poohkan(ผู้แต่งกลอนวันพ่อ



    ยอกรน้อมบังคมก้มกราบบาท

    มหาราชจอมบดินทร์ปิ่นสยาม

    "5 ธันวา" ศุภฤกษ์เบิกฟ้างาม

    ทุกเขตคาม แซ่ซ้องถวายชัย





    เฉลิมพระชนมพรรษามหาสวัสดิ์

    ขอเทพไท้ที่ป้องรัฐทุกสมัย

    น้อมปกปักพระพ่อหลวงของปวงไทย

    เปี่ยมพระพลานามัยไปชั่วกาล





    ด้วยพระมหาบารมีที่ล้นเกล้า

    ข้าพระพุทธเจ้าฯ ขอรองลาดพระบาทผ่าน

    ด้วยยึดดี...มิปล่อยใจใฝ่ทางมาร

    สมัครสมานและรู้อยู่พอเพียง





    ทีฆายุโก โหตุ มหาราช

    ไทยทั้งชาติ เปล่งประสานสุรเสียง

    “ทรงพระเจริญ” แม้หลากมากสำเนียง

    ต่างล้วนเคียงเพ่งจิตกราบถวายพระพร





    กษัตริย์ผู้ทรงพระราชกรณียกิจ

    มีลิขิตเพียงตำนาน...ในกาลก่อน

    ชาติที่กล่าวดังนั้น...คงสั่นคลอน

    ด้วยพระเกียรติก้องกำจร...องค์ภูมิพล





    พระมหากรุณาล้นฟ้ากว้าง

    เกินร้อยกรองสรรค์สร้างคำงามล้น

    "หนึ่งธุลี" ใต้ร่มฉัตรแห่งภูวดล

    น้อมกมลร้อยกรองถวาย “ทรงพระเจริญ”





    ----------------------------------------------------------------------------------------







    จากลูกสาวคนหนึ่ง…ส่งถึงพ่อ



    สัจจาภรณ์ ไวจรรยา poohkan(ผู้แต่งกลอนวันพ่อ



    จากลูกสาวคนหนึ่ง…ส่งถึงพ่อ

    เรียง “รัก” ทอร้อยถัก “ตัวอักษร”

    “ลูกรักพ่อ” แม้บอกฝากจากกาพย์กลอน

    “รัก” แน่นอน จากลูกมั่นลูกสัญญา





    อาจไม่ใช่คนที่ เป็น “ที่หนึ่ง”

    ไม่น่าทึ่ง-เก่งฉกาจ-มาดหรูหรา

    ไม่สวยเด่นดังเช่น “ดาว” พราวนภา

    แต่เชื่อว่าเป็น “คนดี” ที่ภูมิใจ





    ทุกถ้อย “พ่อ” เตือนย้ำยามยังเด็ก

    เจ้าตัวเล็กอาจเหมือนรั้นไม่หวั่นไหว

    แต่พ่อจ๋า...ที่ตรึงติดสนิทฤทัย

    จักอื่นใด “คำพ่อสอน” คือพรพรหม





    อุ่นอื่นหนอ จะอุ่นละมุนนัก

    เท่าอุ่นจาก “ไอรัก” อันเหมาะสม

    ชายอื่นหนอ จะ “รักลูก” ยามทุกข์ตรม

    ทั้งชีวิต “หวาน” – “ขม” พ่อห่วงใย





    ลูกของพ่อจะเดินทางอย่างเชื่อมั่น

    สู่ “ปลายฝัน” อนาคตอันสดใส

    แม้อุปสรรค์จะขวากขวางบนทางไกล

    “ลูกสาวพ่อ” จะก้าวไปไม่แคลนคลอน





    จากลูกสาวคนหนึ่ง…ส่งถึงพ่อ

    เรียง “รัก” ทอร้อยถัก “ตัวอักษร”

    พนมมือก้มน้อมราบกราบบิดร

    ด้วยบทกลอน ว่า “รักมั่นกตัญญู”









    ----------------------------------------------------------------------------------------









    กราบพ่อ



    สัจจาภรณ์ ไวจรรยา poohkan(ผู้แต่งกลอนวันพ่อ





    พนมมือกราบแนบ…แทบเท้าพ่อ

    ผู้สร้าง-ก่อกำเนิด เกิดสังขาร

    จากว่างเปล่า มีชีวิต จิตวิญญาณ

    มีเลือดเนื้อ ดุจปั้น รังสรรค์มา





    นึกถึงภาพวันเก่า...คราวยังเล็ก

    พ่ออุ้มเด็กตัวน้อยนั่งข้างบนบ่า

    พลางปลอบ...เจ้าอย่าหวั่นเลยขวัญตา

    สองมือใหญ่นี้หนา...จะประคอง





    หากมือแม่เป็นผ้าอุ่นละมุนนัก

    มือพ่อจักเป็นเกราะคลุมคุ้มภัยผอง

    หากลูกล้ม...เหนื่อยล้า...น้ำตานอง

    พ่อทั้งป้อง...ปลุกให้ลุกบุกบั่นไป





    อาจไม่เคยเอ่ยปาก “พ่อรักลูก”

    แต่พันผูกเกลียวรักมั่นไม่หวั่นไหว

    แววตาพ่ออาจไม่หวานซ่านฤทัย

    แต่แววตานี้ห่วงใย...ไม่เว้นวัน





    แม้หลอมรวมสามภพจบทั่วหล้า

    อีกนภามหาสมุทรสุดเขตขันธ์

    หรือจักรวาลที่วัดว่าค่าเป็นอนันต์

    จะเทียมทันเทียบพ่อได้...นั้นไม่มี





    “พ่อ” คือ “พรหม” คือ “พระ” คุ้มอุ้มชีวิต

    ลูกน้อมจิตกราบประนมก้มเกศี

    เรียงอักษรเป็นกลอน...ร้อยแทนถ้อยวจี

    ว่าลูกนี้ “รักพ่อ” ขอบูชา






      


     



    ร่วมกิจกรรมวันพ่อแห่งชาติ กับ Sanook!





    (หมดเขต 31 ธันวาคม 2555 นี้)







    เรื่องน่ารู้อื่นๆ เกี่ยวกับวันพ่อแห่งชาติ




    รวมเพลงวันพ่อ
















    ครีมหน้าใส” อื่นๆ :ครีมสาหร่ายครีมนมข้าวครีมน้ำนมข้าวครีมกันแดดซิลิโคน,ครีมหน้าใสเซรั่ม ขาว ใส ยกกระชับครีมตัวขาวครีม เซรั่ม ใต้ตาเจล หน้าใส ยกกระชับ ปรับผิวขาว, สบู่หน้าใสครีม เซรั่ม เจล ลดสิว,บรรจุภัณฑ์สติกเกอร์ โลโก้ ครีมหน้าใสผิวขาว , ครีมหน้าขาว ,ครีมมะหาดครีมนมผึ้งครีมน้ำนมผึ้ง


    กด Link(ถูกใจ) หน้า page ครีมสาหร่าย สีเข้ม สอบถามอัพเดตข่าวสาร ได้ที่ หน้า page นี้เลยนะค่ะ




    พริตตี้ มอเตอร์โชว์ 2012 ----> ผู้สนับสนุนครีมสาหร่าย ครีมหน้าใส  




    วันพุธที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

    มาสู่ร่วมป้องทำกระแสความดี ในวัน วันพ่อแห่งชาติ


    มาร่วมขวางทำเหตุดี ในวัน วันพ่อแห่งชาติ วันพ่อแห่งชาติ




    บทอาศิรวาท เฉลิมพระชนมพรรษา มหาราชา "ภูมิพล ฯ"


    "เฉลิมพระชนม์ เฉลิมชัย ชโยฤกษ์ 

    บายศรีเบิก ฟ้าสีทอง ผ่องเวหน

    พระบุญญา พระบารมี พระฯภูมิพล 

    เกริกสกล ภูมิแผ่นดิน ภิญโญไทย

    ธ ทรงมี ทศพิธ ราชธรรม 

    โครงการล้ำ เชิดชูชาติ ศาสน์ไสว

    อิสริยยศ คิงออฟคิง เพริศพริ้งไกล 

    งามวิไล ราชกิจ พิศอัศจรรย์

    อัญเชิญชัย พระไตรรัตน์ สิ่งศักดิ์สิทธิ์ 

    เทพนิมิต ราชประสงค์ ทรงเสกสรรค์

    จตุรพิธ พรประเสริฐ เลิศอนันต์ 

    นิจนิรันดร์ ขอพระองค์ ทรงพระเจริญ"


    วารี ไตรเพิ่ม ผู้ประพันธ์กลอนวันพ่อ

    1ธ.ค.53


    ----------------------------------------------------------------------------------------

    กลอนวันพ่อ




    "สรวมชีพ น้อมเกศา ข้าพระบาท 

    อาศิรวาท จอมบดินทร์ ปิ่นเกศี

    เฉลิมพระชนม์ พระฯภูมิพล นฤบดี 

    พระบารมี ยิ่งบุญญา เฟื่องฟ้าไกล

    กอปรอาเกียรณ์ ราชกิจ ผลิตโครงการ 

    พรหมสร้างสาน ปราชญ์คู่หล้า ฟ้าสดใส

    ทศพิธ ราชธรรม ธำรงไทย 

    เลื่องลือไป ทั่วหล้า น่าอัศจรรย์

    ขอเทพไท ไตรรัตน์ สิ่งศักดิ์สิทธิ์ 

    นฤมิต พรพราวพร่าง สร้างสุขสันต์

    ธ ประสงค์ ลุประสงค์ มงคลพลัน 

    ภักดีมั่น ขอพระองค์ ทรงพระเจริญ"



    วารี ไตรเพิ่ม (ประพันธ์กลอนวันพ่อ)

    1 ธ.ค. 53


    ----------------------------------------------------------------------------------------

    กลอนวันพ่อ


    "ลุที่ห้า ธันวา มหาฤกษ์ 

    บายศรีเบิก แผ่นฟ้า เวหาหน

    เฉลิมพระชนม์ พรรษา มหามงคล 

    ร่วมกมล ถวายพระพร บวรชัย

    ธ ทรงเป็น ยิ่งกว่า ราชาบดี 

    ทรงเป็นศรี แห่งแผ่นดิน ภิญโญสมัย

    ธ ทรงงาน โครงการ สร้างสานไทย 

    น้ำพระทัย พระเมตตา ล้ำบารมี

    ธ ทรงเป็น พลัง แห่งแผ่นดิน 

    เลิศศาสตร์ศิลป์ พัฒนาไทย ไพศาลศรี

    ดังตะวัน จันทรา หล้าปฐพี 

    เพชรมณี เฟื่องสยาม คามตำนาน

    อัญเชิญชัย ศรีไตรรัตน์ ประภัสสร์ผล 

    ทวยเทพดล ราชวงศ์ เกษมศานต์

    จตุรพิธ พรพร่าง นานัปการ 

    โลกขับขาน ขอพระองค์ ทรงพระเจริญ"


    วารี ไตรเพิ่ม (ประพันธ์กลอนวันพ่อ)

    1 ธ.ค. 53





     *** ขอขอบคุณบทกลอนวันพ่อจาก คุณวารี ไตรเพิ่ม (บทกลอนที่นำมาเสนอได้รับอนุญาตจากผู้แต่งแล้ว) หากผู้ใดต้องการนำกลอนเหล่านี้ไปเผยแพร่ไม่ว่ากรณีใดๆ กรุณาติดต่อที่ feedback@sanook.com





    ----------------------------------------------------------------------------------------



    5 ธันวา ศุภฤกษ์เบิกฟ้างาม

    กลอนวันพ่อ



    สัจจาภรณ์ ไวจรรยา poohkan(ผู้แต่งกลอนวันพ่อ) 



    ยอกรน้อมบังคมก้มกราบบาท

    มหาราชจอมบดินทร์ปิ่นสยาม

    "5 ธันวา" ศุภฤกษ์เบิกฟ้างาม

    ทุกเขตคาม แซ่ซ้องถวายชัย





    เฉลิมพระชนมพรรษามหาสวัสดิ์

    ขอเทพไท้ที่ป้องรัฐทุกสมัย

    น้อมปกปักพระพ่อหลวงของปวงไทย 

    เปี่ยมพระพลานามัยไปชั่วกาล





    ด้วยพระมหาบารมีที่ล้นเกล้า

    ข้าพระพุทธเจ้าฯ ขอรองลาดพระบาทผ่าน

    ด้วยยึดดี...มิปล่อยใจใฝ่ทางมาร

    สมัครสมานและรู้อยู่พอเพียง





    ทีฆายุโก โหตุ มหาราช

    ไทยทั้งชาติ เปล่งประสานสุรเสียง

    “ทรงพระเจริญ” แม้หลากมากสำเนียง

    ต่างล้วนเคียงเพ่งจิตกราบถวายพระพร





    กษัตริย์ผู้ทรงพระราชกรณียกิจ

    มีลิขิตเพียงตำนาน...ในกาลก่อน

    ชาติที่กล่าวดังนั้น...คงสั่นคลอน

    ด้วยพระเกียรติก้องกำจร...องค์ภูมิพล





    พระมหากรุณาล้นฟ้ากว้าง

    เกินร้อยกรองสรรค์สร้างคำงามล้น

    "หนึ่งธุลี" ใต้ร่มฉัตรแห่งภูวดล

    น้อมกมลร้อยกรองถวาย “ทรงพระเจริญ”





    ----------------------------------------------------------------------------------------







    จากลูกสาวคนหนึ่ง…ส่งถึงพ่อ

    กลอนวันพ่อ



    สัจจาภรณ์ ไวจรรยา poohkan(ผู้แต่งกลอนวันพ่อ) 



    จากลูกสาวคนหนึ่ง…ส่งถึงพ่อ

    เรียง “รัก” ทอร้อยถัก “ตัวอักษร”

    “ลูกรักพ่อ” แม้บอกฝากจากกาพย์กลอน

    “รัก” แน่นอน จากลูกมั่นลูกสัญญา





    อาจไม่ใช่คนที่ เป็น “ที่หนึ่ง”

    ไม่น่าทึ่ง-เก่งฉกาจ-มาดหรูหรา

    ไม่สวยเด่นดังเช่น “ดาว” พราวนภา

    แต่เชื่อว่าเป็น “คนดี” ที่ภูมิใจ





    ทุกถ้อย “พ่อ” เตือนย้ำยามยังเด็ก

    เจ้าตัวเล็กอาจเหมือนรั้นไม่หวั่นไหว

    แต่พ่อจ๋า...ที่ตรึงติดสนิทฤทัย

    จักอื่นใด “คำพ่อสอน” คือพรพรหม





    อุ่นอื่นหนอ จะอุ่นละมุนนัก

    เท่าอุ่นจาก “ไอรัก” อันเหมาะสม

    ชายอื่นหนอ จะ “รักลูก” ยามทุกข์ตรม

    ทั้งชีวิต “หวาน” – “ขม” พ่อห่วงใย





    ลูกของพ่อจะเดินทางอย่างเชื่อมั่น

    สู่ “ปลายฝัน” อนาคตอันสดใส

    แม้อุปสรรค์จะขวากขวางบนทางไกล

    “ลูกสาวพ่อ” จะก้าวไปไม่แคลนคลอน





    จากลูกสาวคนหนึ่ง…ส่งถึงพ่อ

    เรียง “รัก” ทอร้อยถัก “ตัวอักษร”

    พนมมือก้มน้อมราบกราบบิดร

    ด้วยบทกลอน ว่า “รักมั่นกตัญญู”



     

    กลอนวันพ่อ----------------------------------------------------------------------------------------





     

    กลอนวันพ่อ

    กราบพ่อ



    สัจจาภรณ์ ไวจรรยา poohkan(ผู้แต่งกลอนวันพ่อ) 





    พนมมือกราบแนบ…แทบเท้าพ่อ

    ผู้สร้าง-ก่อกำเนิด เกิดสังขาร

    จากว่างเปล่า มีชีวิต จิตวิญญาณ

    มีเลือดเนื้อ ดุจปั้น รังสรรค์มา





    นึกถึงภาพวันเก่า...คราวยังเล็ก

    พ่ออุ้มเด็กตัวน้อยนั่งข้างบนบ่า

    พลางปลอบ...เจ้าอย่าหวั่นเลยขวัญตา

    สองมือใหญ่นี้หนา...จะประคอง





    หากมือแม่เป็นผ้าอุ่นละมุนนัก

    มือพ่อจักเป็นเกราะคลุมคุ้มภัยผอง

    หากลูกล้ม...เหนื่อยล้า...น้ำตานอง

    พ่อทั้งป้อง...ปลุกให้ลุกบุกบั่นไป





    อาจไม่เคยเอ่ยปาก “พ่อรักลูก”

    แต่พันผูกเกลียวรักมั่นไม่หวั่นไหว

    แววตาพ่ออาจไม่หวานซ่านฤทัย

    แต่แววตานี้ห่วงใย...ไม่เว้นวัน





    แม้หลอมรวมสามภพจบทั่วหล้า

    อีกนภามหาสมุทรสุดเขตขันธ์

    หรือจักรวาลที่วัดว่าค่าเป็นอนันต์

    จะเทียมทันเทียบพ่อได้...นั้นไม่มี





    “พ่อ” คือ “พรหม” คือ “พระ” คุ้มอุ้มชีวิต

    ลูกน้อมจิตกราบประนมก้มเกศี

    เรียงอักษรเป็นกลอน...ร้อยแทนถ้อยวจี

    ว่าลูกนี้ “รักพ่อ” ขอบูชา








    +++ กลอนวันแม่ จากคุณ poohkan





    *** ขอขอบคุณบทกลอนวันพ่อจาก คุณสัจจาภรณ์ ไวจรรยา (บทกลอนที่นำมาเสนอได้รับอนุญาตจากผู้แต่งแล้ว) หากผู้ใดต้องการนำกลอนวันพ่อเหล่านี้ไปเผยแพร่ไม่ว่ากรณีใดๆ กรุณาติดต่อที่ feedback@sanook.com



    ทึ่มา กลอนวันพ่อ  http://campus.sanook.com/928988/ 

    ติดตาม คนอวดผี 28 พฤศจิกายน 2555
                ,                     ดูคนอวดผี
                ,                     คนอวดผีย้อนหลัง
                ,                     คนอวดผีล่าสุด
                ,                     คนอวดผี













    ติดตามข่าวกีฬา วิเคราะห์บอล ผลบอล ฟุตบอล รอบโลก ได้ที่นี่
    ที่มาของ ข่าว วิเคราะห์บอล


    ครีมหน้าใส” อื่นๆ :ครีมสาหร่ายครีมนมข้าวครีมน้ำนมข้าวครีมกันแดดซิลิโคน,ครีมหน้าใสเซรั่ม ขาว ใส ยกกระชับครีมตัวขาวครีม เซรั่ม ใต้ตาเจล หน้าใส ยกกระชับ ปรับผิวขาว, สบู่หน้าใสครีม เซรั่ม เจล ลดสิว,บรรจุภัณฑ์สติกเกอร์ โลโก้ ครีมหน้าใสผิวขาว , ครีมหน้าขาว ,ครีมมะหาดครีมนมผึ้งครีมน้ำนมผึ้ง


    กด Link(ถูกใจ) หน้า page ครีมสาหร่าย สีเข้ม สอบถามอัพเดตข่าวสาร ได้ที่ หน้า page นี้เลยนะค่ะ


    ผู้สนับสนุนครีมสาหร่าย ครีมหน้าใส


     


    วันจันทร์ที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

    กระชั้นลอยกระทงแล้วน้าสาว จะเคลื่อนลอยกระทงกันพื้นดินไหนงดงามเอ่ยยยยย !!!!


     
    ประชิดติดกันลอยกระทงแล้วน้าสาว จะจากไปลอยกระทงกันถิ่นที่ที่ใดเป็นประโยชน์เอ่ยยยยย !!!! 


    ลอยกระทง
     เป็นพิธีอย่างหนึ่งที่มักจะทำกันในคืนวันเพ็ญ เดือน 12 หรือวันขึ้น 15
    ค่ำเดือน 12 อันเป็นวันพระจันทร์เต็มดวง และเป็นช่วงที่น้ำหลากเต็มตลิ่ง
    โดยจะมีการนำดอกไม้ ธูป เทียนหรือสิ่งของใส่ลงในสิ่งประดิษฐ์รูปต่างๆ
    ที่ไม่จมน้ำ เช่น กระทง เรือ แพ ดอกบัว ฯลฯ แล้วนำไปลอยตามลำน้ำ
    โดยมีวัตถุประสงค์ และความเชื่อต่างๆ กัน ในปีนี้ วันลอยกระทง ตรงกับ วันพุทธที่ 28 พฤศจิกายน 2555


    ประเพณีลอยกระทง
     มิได้มีแต่ในประเทศไทยเท่านั้น ในประเทศจีน อินเดีย เขมร ลาว และพม่า
    ก็มีการลอยกระทงคล้ายๆ กับบ้านเรา จะต่างกันบ้าง ก็คงเป็นเรื่องรายละเอียด
    พิธีกรรม และความเชื่อในแต่ละท้องถิ่น แม้แต่ในบ้านเราเอง การลอยกระทง
    ก็มาจากความเชื่อที่หลากหลายเช่นกัน ซึ่งกลุ่มประชาสัมพันธ์
    สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ กระทรวงวัฒนธรรม
    ได้รวบรวมมาบอกเล่าให้ทราบกันดังต่อไปนี้

    ทำไมถึงลอยกระทง การลอยกระทง
    เป็นประเพณีที่มีมาแต่โบราณ แต่ไม่ปรากฏหลักฐานแน่ชัดว่า
    ปฏิบัติกันมาแต่เมื่อไร เพียงแต่ท้องถิ่นแต่ละแห่ง
    ก็จะมีจุดประสงค์และความเชื่อในการลอยกระทงแตกต่างกันไป เช่น
    ในเรื่องเกี่ยวกับพระพุทธศาสนา
    ก็จะเป็นการบูชาพระเกศแก้วจุฬามณีบนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์,
    เป็นบูชารอยพระพุทธบาท ณ หาดทรายริมฝั่งแม่น้ำนัมมทา
    ซึ่งปัจจุบันคือแม่น้ำเนรพุททาในอินเดีย หรือต้อนรับพระพุทธเจ้า
    ในวันเสด็จกลับจากเทวโลก เมื่อครั้งไปโปรดพระพุทธมารดา


    ลอยกระทง 2555



    นอกจากนี้ ลอยกระทง ก็ยังมีวัตถุประสงค์ เพื่อ
    บูชาพระอุปคุตเถระที่บำเพ็ญบริกรรมคาถาในท้องทะเลลึก หรือสะดือทะเล
    บางแห่งก็ลอยกระทง เพื่อบูชาเทพเจ้าตามความเชื่อของตน
    บางแห่งก็เพื่อแสดงความขอบคุณพระแม่คงคา
    ซึ่งเป็นแหล่งน้ำให้มนุษย์ได้ใช้ประโยชน์ต่างๆ
    รวมทั้งขอขมาที่ได้ทิ้งสิ่งปฏิกูลลงไป ส่วนบางท้องที่
    ก็จะทำเพื่อระลึกถึงบรรพบุรุษที่ล่วงลับ หรือเพื่อสะเดาะเคราะห์
    ลอยทุกข์โศกโรคภัยต่างๆ และส่วนใหญ่ก็จะอธิษฐานขอสิ่งที่ตนปรารถนาไปด้วย


    พระยาอนุมานราชธน ได้สันนิษฐานว่า
    ต้นเหตุแห่งการลอยกระทง อาจมีมูลฐานเป็นไปได้ว่า
    การลอยกระทงเป็นคติของชนชาติที่ประกอบกสิกรรม ซึ่งต้องอาศัยน้ำเป็นสำคัญ
    เมื่อพืชพันธุ์ธัญชาติงอกงามดี และเป็นเวลาที่น้ำเจิ่งนองพอดี
    ก็ทำกระทงลอยไปตามกระแสน้ำไหล เพื่อขอบคุณแม่คงคา
    หรือเทพเจ้าที่ประทานน้ำมาให้ความอุดมสมบูรณ์ เหตุนี้
    จึงได้ลอยกระทงในฤดูกาลน้ำมาก และเมื่อเสร็จแล้ว
    จึงเล่นรื่นเริงด้วยความยินดี เท่ากับเป็นการสมโภชการงานที่ได้กระทำว่า
    ได้ลุล่วงและรอดมาจนเห็นผลแล้ว ท่านว่าการที่ชาวบ้านบอกว่า
    การลอยกระทงเป็นการขอขมาลาโทษ และขอบคุณต่อแม่คงคา
    ก็คงมีเค้าในทำนองเดียวกับการที่ชาติต่างๆ แต่ดึกดำบรรพ์ได้แสดงความยินดี
    ที่พืชผลเก็บเกี่ยวได้ จึงได้นำผลผลิตแรกที่ได้ ไปบูชาเทพเจ้าที่ตนนับถือ
    เพื่อขอบคุณที่บันดาลให้การเพาะปลูกของตนได้ผลดี
    รวมทั้งเลี้ยงดูผีที่อดอยาก และการเซ่นสรวงบรรพบุรุษที่ล่วงลับ
    เสร็จแล้วก็มีการสมโภชเลี้ยงดูกันเอง

    ต่อมาเมื่อมนุษย์มีความเจริญแล้ว การวิตกทุกข์ร้อน
    เรื่องเพาะปลูกว่าจะไม่ได้ผลก็น้อยลงไป แต่ก็ยังทำการบวงสรวง
    ตามที่เคยทำมาจนเป็นประเพณี
    เพียงแต่ต่างก็แก้ให้เข้ากับคติลัทธิทางศาสนาที่ตนนับถือ เช่น
    มีการทำบุญสุนทานเพิ่มขึ้นในทางพุทธศาสนา เป็นต้น แต่ที่สุด
    ก็คงเหลือแต่การเล่นสนุกสนานรื่นเริงกันเป็นส่วนใหญ่ อย่างไรก็ดี
    ด้วยเหตุดังกล่าวข้างต้น การลอยกระทงจึงมีอยู่ในชาติต่างๆทั่วไป
    และการที่ไปลอยน้ำ ก็คงเป็นความรู้สึกทางจิตวิทยา ที่มนุษย์โดยธรรมดา
    มักจะเอาอะไรทิ้งไปในน้ำให้มันลอยไป

    ทำไมกระทงส่วนใหญ่เป็นรูปดอกบัว ในหนังสือตำรับท้าวศรี
    จุฬาลักษณ์ หรือตำนานนางนพมาศ ซึ่งเป็นพระสนมเอก
    ของพระมหาธรรมราชาลิไทยหรือพระร่วง แห่งกรุงสุโขทัย
    ได้กล่าวถึงวันเพ็ญเดือนสิบสองว่า เป็นเวลาเสด็จประพาสลำน้ำ
    ตามพระราชพิธีในเวลากลางคืน และได้มีรับสั่งให้บรรดาพระสนมนางในทั้งหลาย
    ตกแต่งกระทงประดับดอกไม้ธูปเทียน นำไปลอยน้ำหน้าพระที่นั่ง ในคราวนั้น
    ท้าวศรีจุฬาลักษณ์ หรือนางนพมาศพระสนมเอก
    ก็ได้คิดประดิษฐ์กระทงเป็นรูปดอกบัวกมุทขึ้น ด้วยเห็นว่าเป็นดอกบัวพิเศษ
    ที่บานในเวลากลางคืนเพียงปีละครั้งในวันดังกล่าว
    สมควรทำเป็นกระทงแต่งประทีป ลอยไปถวายสักการะรอยพระพุทธบาท
    ซึ่งเมื่อพระร่วงเจ้าได้ทอดพระเนตรเห็น ก็รับสั่งถามถึงความหมาย
    นางก็ได้ทูลอธิบายจนเป็นที่พอพระราชหฤทัย พระองค์จึงมีพระราชดำรัสว่า “แต่
    นี้สืบไปเบื้องหน้าโดยลำดับ กษัตริย์ในสยามประเทศ ถึงกาลกำหนดนักขัตฤกษ์
    วันเพ็ญเดือน 12 ให้นำโคมลอยเป็นรูปดอกบัว
    อุทิศสักการบูชาพระพุทธบาทนัมมทานที ตราบเท่ากัลปาวสาน”
    ด้วยเหตุนี้ เราจึงเห็นโคมลอยรูปดอกบัวปรากฏมาจนปัจจุบัน









    ตำนานและความเชื่อ จากที่กล่าวมาข้างต้นว่า การลอยกระทง
     ในแต่ละท้องที่ก็มาจากความเชื่อ ความศรัทธาที่แตกต่างกัน
    บางแห่งก็มีตำนานเล่าขานกันต่อๆมา ซึ่งจะยกตัวอย่างบางเรื่องมาให้ทราบ
    ดังนี้

    เรื่องแรก ว่ากันว่าการลอยกระทง มีต้นกำเนิดมาจากศาสนาพุทธนั่นเอง
     กล่าวคือก่อนที่พระพุทธองค์จะตรัสรู้ เป็นสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
    ได้ประทับอยู่ใต้ต้นโพธิ์ ใกล้แม่น้ำเนรัญชรา กาลวันหนึ่ง
    นางสุชาดาอุบาสิกาได้ให้สาวใช้นำข้าวมธุปายาส
    (ข้าวกวนหุงด้วยน้ำผึ้งหรือน้ำอ้อย) ใส่ถาดทองไปถวาย
    เมื่อพระองค์เสวยหมดแล้ว ก็ทรงตั้งสัตยาธิษฐานว่า
    ถ้าหากวันใดจะสำเร็จเป็นพระพุทธเจ้า ก็ขอให้ถาดลอยทวนน้ำ
    ด้วยแรงสัตยาธิษฐาน และบุญญาภินิหาร ถาดก็ลอยทวนน้ำไปจนถึงสะดือทะเล
    แล้วก็จมไปถูกขนดหางพระยานาคผู้รักษาบาดาล

    พระยานาคตื่นขึ้น พอเห็นว่าเป็นอะไร ก็ประกาศก้องว่า
    บัดนี้ได้มีพระสัมมาสัมพุทธเจ้า อุบัติขึ้นในโลกอีกองค์แล้ว
    ครั้นแล้วเทพยดาทั้งหลายและพระยานาค ก็พากันไปเข้าเฝ้าพระพุทธเจ้า
    และพระยานาคก็ได้ขอให้พระพุทธองค์ ประทับรอยพระบาทไว้บนฝั่งแม่น้ำเนรัญชรา
    เพื่อพวกเขาจะได้ขึ้นมาถวายสักการะได้ พระองค์ก็ทรงทำตาม
    ส่วนสาวใช้ก็นำความไปบอกนางสุชาดา ครั้นถึงวันนั้นของทุกปี
    นางสุชาดาก็จะนำเครื่องหอม และดอกไม้ใส่ถาดไปลอยน้ำ
    เพื่อไปนมัสการรอยพระพุทธบาทเป็นประจำเสมอมา และต่อๆ
    มาก็ได้กลายเป็นประเพณีลอยกระทง ตามที่เห็นกันอยู่ในปัจจุบัน

    ในเรื่องการประทับรอยพระบาทนี้ บางแห่งก็ว่า
    พญานาคได้ทูลอาราธนาพระพุทธเจ้า ไปแสดงธรรมเทศนาในนาคพิภพ เมื่อจะเสด็จกลับ
     พญานาคได้ทูลขออนุสาวรีย์จากพระองค์ไว้บูชา พระพุทธองค์จึงได้ทรงอธิษฐาน
    ประทับรอยพระบาทไว้ที่หาดทรายแม่น้ำนัมมทา และพวกนาคทั้งหลาย
    จึงพากันบูชารอยพระพุทธบาทแทนพระองค์ ต่อมาชาวพุทธได้ทราบเรื่องนี้
    จึงได้ทำการบูชารอยพระบาทสืบต่อกันมา
    โดยนำเอาเครื่องสักการะใส่กระทงลอยน้ำไป ส่วนที่ว่าลอยกระทงในวันเพ็ญ เดือน
     11 หรือวันออกพรรษา เพื่อเฉลิมฉลองวันคล้ายวันที่พระพุทธเจ้า
    เสด็จกลับมาสู่โลกมนุษย์ หลังการจำพรรษา 3 เดือน ณ
    สวรรค์ชั้นดาวดึงส์เพื่อแสดงอภิธรรมโปรดพุทธมารดานั้น ก็ด้วยวันดังกล่าว
    เหล่าทวยเทพและพุทธบริษัท พากันมารับเสด็จนับไม่ถ้วน
    พร้อมด้วยเครื่องสักการบูชา
    และเป็นวันที่พระพุทธองค์ได้เปิดให้ประชาชนได้เห็นสวรรค์
    และนรกด้วยฤทธิ์ของพระองค์ คนจึงพากันลอยกระทง
    เพื่อเฉลิมฉลองรับเสด็จพระพุทธเจ้า

    สำหรับคติที่ว่า การลอยกระทงตาม
    ประทีป เพื่อไปบูชาพระเกศแก้วจุฬามณี บนสรวงสรรค์ชั้นดาวดึงส์นั้น
    ก็ว่าเป็นเพราะตรงกับวันที่พระพุทธเจ้า
    เสด็จออกบรรพชาที่ริมฝั่งแม่น้ำอโนมา ทรงใช้พระขรรค์ตัดพระเกศโมลีขาด
    ลอยไปในอากาศตามที่ทรงอธิษฐาน พระอินทร์จึงนำผอบแก้วมาบรรจุ
    แล้วนำไปประดิษฐานไว้ในจุฬามณีเจดีย์ บนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์
    (ตาม
    ประทีป คือ การจุดประทีป หรือจุดไฟในตะเกียง /โคม หรือผาง-ถ้วยดินเผาเล็กๆ)
     ซึ่งทางเหนือของเรา มักจะมีการปล่อยโคมลอย หรือโคมไฟที่เรียกว่า ว่าวไฟ
    ขึ้นไปในอากาศเพื่อบูชาพระเกศแก้วจุฬามณีด้วย



    เรื่องที่สอง
    ตามตำราพรหมณ์คณาจารย์กล่าวว่า พิธีลอยประทีปหรือตามประทีปนี้
    แต่เดิมเป็นพิธีทางศาสนาพราหมณ์ ทำขึ้นเพื่อบูชาเทพเจ้าทั้งสามคือ พระอิศวร
     พระนารายณ์และพระพรหม
    เป็นประเภทคู่กับลอยกระทง ก่อนจะลอยก็ต้องมีการตามประทีปก่อน ซึ่งตามคัมภีร์โบราณอินเดียเรียกว่า “ทีปาวลี” โดย
    กำหนดทางโหราศาสตร์ว่า เมื่อพระอาทิตย์ถึงราศีพิจิก
    พระจันทร์อยู่ราศีพฤกษ์เมื่อใด เมื่อนั้นเป็นเวลาตามประทีป
    และเมื่อบูชาไว้ครบกำหนดวันแล้ว ก็เอาโคมไฟนั้นไปลอยน้ำเสีย
    ต่อมาชาวพุทธเห็นเป็นเรื่องดี จึงแปลงเป็นการบูชารอยพระพุทธบาท
    และการรับเสด็จพระพุทธเจ้า ดังที่กล่าวมาข้างต้น โดยมักถือเอาเดือน 12
    หรือเดือนยี่เป็งเป็นเกณฑ์ (ยี่เป็งคือเดือนสอง ตามการนับทางล้านนา
    ที่นับเดือนทางจันทรคติ เร็วกว่าภาคกลาง 2 เดือน)

    เรื่องที่สาม เป็นเรื่องของพม่า
     เล่าว่า ครั้งหนึ่งในสมัยพระเจ้าอโศกมหาราช
    ทรงมีพระประสงค์จะสร้างเจดีย์ให้ครบ 84,000 องค์
    แต่ถูกพระยามารคอยขัดขวางเสมอ พระองค์จึงไปขอให้พระอรหันต์องค์หนึ่ง คือ
    พระอุปคุตช่วยเหลือ พระอุปคุตจึงไปขอร้องพระยานาคเมืองบาดาลให้ช่วย
    พระยานาครับปาก และปราบพระยามารจนสำเร็จ พระเจ้าอโศกมหาราช
     จึงสร้างเจดีย์ได้สำเร็จสมพระประสงค์ ตั้งแต่นั้นมา เมื่อถึงวันเพ็ญเดือน
    12 คนทั้งหลายก็จะทำพิธีลอยกระทง เพื่อบูชาคุณพระยานาค เรื่องนี้
    บางแห่งก็ว่า พระยานาค ก็คือพระอุปคุตที่อยู่ที่สะดือทะเล
    และมีอิทธิฤทธิ์มาก จึงปราบมารได้ และพระอุปคุตนี้ เป็นที่นับถือของชาวพม่า
     และชาวพายัพของไทยมาก

    เรื่องที่สี่ เกิดจากความเชื่อแต่ครั้งโบราณในล้านนาว่า
     เกิดอหิวาต์ระบาด ที่อาณาจักรหริภุญชัย ทำให้คนล้มตายเป็นจำนวนมาก
    พวกที่ไม่ตายจึงอพยพไปอยู่เมืองสะเทิม และหงสาวดีเป็นเวลา 6 ปี
    บางคนก็มีครอบครัวอยู่ที่นั่น ครั้นเมื่ออหิวาต์ได้สงบลงแล้ว
    บางส่วนจึงอพยพกลับ และเมื่อถึงวันครบรอบที่ได้อพยพไป
    ก็ได้จัดธูปเทียนสักการะ พร้อมเครื่องอุปโภคบริโภคดังกล่าวใส่ สะเพา (
     อ่านว่า “ สะ - เปา หมายถึง สำเภาหรือกระทง ) ล่องตามลำน้ำ
    เพื่อระลึกถึงญาติที่มีอยู่ในเมืองหงสาวดี ซึ่งการลอยกระทงดังกล่าว
    จะทำในวันยี่เพง คือ เพ็ญเดือนสิบสอง เรียกกันว่า การลอยโขมด
    แต่มิได้ทำทั่วไปในล้านนา ส่วนใหญ่เทศกาลยี่เพงนี้
    ชาวล้านนาจะมีพิธีตั้งธัมม์หลวง
    หรือการเทศน์คัมภีร์ขนาดยาวอย่างเทศน์มหาชาติ
    และมีการจุดประทีปโคมไฟอย่างกว้างขวางมากกว่า (การลอยกระทง
    ที่ทางโบราณล้านนาเรียกว่า ลอยโขมดนี้ คำว่า “ โขมด อ่านว่า ขะ-โหมด
    เป็นชื่อผีป่า ชอบออกหากินกลางคืน และมีไฟพะเหนียงเห็นเป็นระยะๆ
    คล้ายผีกระสือ ดังนั้น จึงเรียกเอาตามลักษณะกระทง ที่จุดเทียนลอยในน้ำ
    เห็นเงาสะท้อนวับๆ แวมๆ คล้ายผีโขมดว่า ลอยโขมด ดังกล่าว)

    รื่องที่ห้า กล่าวกันว่าในประเทศจีนสมัยก่อน
     ทางตอนเหนือ เมื่อถึงหน้าน้ำ น้ำจะท่วมเสมอ
    บางปีน้ำท่วมจนชาวบ้านตายนับเป็นแสนๆ และหาศพไม่ได้ก็มี
    ราษฎรจึงจัดกระทงใส่อาหารลอยน้ำไป เพื่อเซ่นไหว้ผีเหล่านั้นเป็นงานประจำปี
    ส่วนที่ลอยในตอนกลางคืน ท่านสันนิษฐานว่า อาจจะต้องการความขรึม
    และขมุกขมัวให้เห็นขลัง เพราะเป็นเรื่องเกี่ยวกับผีๆสางๆ
    และผีก็ไม่ชอบปรากฏตัวในตอนกลางวัน การจุดเทียนก็เพราะหนทางไปเมืองผีมันมืด
     จึงต้องจุดให้แสงสว่าง เพื่อให้ผีกลับไปสะดวก
    ในภาษาจีนเรียกการลอยกระทงว่า ปล่อยโคมน้ำ (ปั่งจุ๊ยเต็ง)
    ซึ่งตรงกับของไทยว่า ลอยโคม จากเรื่องข้างต้น เราจะเห็นได้ว่า การลอยกระทง
    ส่วนใหญ่จะเป็นการแสดงความกตัญญู ระลึกถึงผู้มีพระคุณต่อมนุษย์ เช่น
    พระพุทธเจ้า เทพเจ้า พระแม่คงคา และบรรพชน เป็นต้น และแสดงความกตเวที
    (ตอบแทนคุณ) ด้วยการเคารพบูชาด้วยเครื่องสักการะต่างๆ
    โดยเฉพาะการบูชาพระพุทธเจ้า หรือรอยพระพุทธบาท
    ถือได้ว่าเป็นคติธรรมอย่างหนึ่ง ที่บอกเป็นนัยให้พุทธศาสนิกชน
    ได้เจริญรอยตามพระบาทของพระพุทธองค์
    ซึ่งเป็นสัญลักษณ์แห่งความดีงามทั้งปวงนั่นเอง

    ประเพณีลอยกระทง
    นอกจากจะเป็นประเพณีที่มีคุณค่า ในเรื่องการแสดงออกถึงความกตัญญูกตเวที
    ต่อผู้มีพระคุณดังที่กล่าวมาแล้ว ประเพณีนี้ยังมีคุณค่าต่อครอบครัว ชุมชน
    สังคม และศาสานาด้วย เช่น ทำให้สมาชิกในครอบครัวได้ใช้เวลาร่วมกัน
    ทำให้ชุมชนได้ร่วมมือร่วมใจกันจัดงาน หรือในบางท้องที่ที่มีการทำบุญ
    ก็ถือว่ามีส่วนช่วยสืบทอดพระศาสนา และในหลายๆ
    แห่งก็ถือเป็นโอกาสดีในการรณรงค์อนุรักษ์สิ่งแวดล้อมในแม่น้ำลำคลองไปด้วย


    ขอขอบคุณข้อมูลข่าว : อมรรัตน์ เทพกำปนาท สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ กระทรวงวัฒนธรรม

    ลอยกระทงออนไลน์ ลอยกระทงในเน็ต สำหรับชาวกรุงเทพฯ และพื้นที่ที่ยังมีน้ำท่วมขัง เพื่อลดขยะที่จะเกิดขึ้นซึ่งจะยิ่งทำให้การระบายน้ำช้าลง คลิกที่นี่หรือที่รูปด้านล่างเพื่อ ลอยกระทงออนไลน์ กับสนุกดอทคอม ได้เลย

    ข้อมูลที่เกี่ยวข้อง : ลอยกระทง 2555 วันลอยกระทง

    ลอยกระทงออนไลน์ ได้ที่นี้ http://season.sanook.com/loykrathong







    ติดตามข่าวกีฬา วิเคราะห์บอล ผลบอล ฟุตบอล รอบโลก ได้ที่นี่
    ที่มาของ ข่าว วิเคราะห์บอล


    ครีมหน้าใส” อื่นๆ :ครีมสาหร่ายครีมนมข้าวครีมน้ำนมข้าวครีมกันแดดซิลิโคน,ครีมหน้าใสเซรั่ม ขาว ใส ยกกระชับครีมตัวขาวครีม เซรั่ม ใต้ตาเจล หน้าใส ยกกระชับ ปรับผิวขาว, สบู่หน้าใสครีม เซรั่ม เจล ลดสิว,บรรจุภัณฑ์สติกเกอร์ โลโก้ ครีมหน้าใสผิวขาว , ครีมหน้าขาว ,ครีมมะหาดครีมนมผึ้งครีมน้ำนมผึ้ง


    กด Link(ถูกใจ) หน้า page ครีมสาหร่าย สีเข้ม สอบถามอัพเดตข่าวสาร ได้ที่ หน้า page นี้เลยนะค่ะ


    ผู้สนับสนุนครีมสาหร่าย ครีมหน้าใส